นโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ http://www.tnsu.ac.th/web/web3/index.php 2024-05-01T23:56:20Z Joomla! 1.5 - Open Source Content Management นโยบาย 2010-04-18T17:36:30Z 2010-04-18T17:36:30Z http://www.tnsu.ac.th/web/web3/index.php?option=com_content&view=article&id=141:2010-04-18-17-39-29&catid=66:2010-03-09-18-54-08&Itemid=302 Administrator tnsu@tnsu.ac.th <p><img src="images/stories/head_a4.jpg" border="0" width="600" height="102" style="border: 0;" /><br /><br />กรมพลศึกษาได้ดำเนินการผลิตครูพลศึกษามาเป็นเวลานานโดย รับโอนโรงเรียนพลศึกษากลางมาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเรื่อยมา จนได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2496   เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง พลศึกษา) และตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย” ขึ้นในปีการศึกษา 2501 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ. พลานามัย)<br /><br />ต่อมาได้ยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัยในปี พ.ศ. 2512 และได้ขยายหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี โดยเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา แต่ยังคงดำเนินการโดยกรมพลศึกษา และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา” ในปี พ.ศ. 2514 ได้ยุติการดำเนินการวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนกลางและโอนวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาพลศึกษาไปให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาดำเนินการต่อไป กรมพลศึกษาได้เปิด ดำเนินการผลิตครูพลศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 เปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” เป็นแห่งที่สอง และมีการเปิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งมีวิทยาลัยพลศึกษารวม 17 แห่ง<br /><br />เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายบรรจุข้าราชการครูจากผู้ที่มีวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ ทำให้กรมพลศึกษาเริ่มหาแนวทางยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาให้สามารถเปิดทำการสอนใน ระดับปริญญาตรี โดยในระยะแรกได้จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการกับกรมการ ฝึกหัดครู ให้วิทยาลัยครูรับวิทยาลัยพลศึกษาเข้าสมทบทางวิชาการเพื่อเปิดสอนระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 ในขณะเดียวกันก็พยายามหาแนวทางที่จะเปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาตรีด้วยตน เอง จนได้มีการร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบัน การศึกษาระดับปริญญา เสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2538 และใช้ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล” <br /><br />กรมพลศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลตามลำดับขั้นตอนพร้อมๆ กับที่กรมอาชีวศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และกรมศิลปากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนศิลป์ ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการกรมพลศึกษาได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบัน กาญจนมงคลกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเวลา เนื่องจาก สภาผู้แทนราษฎรหมดอายุลง   จึงต้องนำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล มาเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนใหม่อีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว<br /><br />โดยมีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 111/2541 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล เพื่อพิจารณาทบทวน แก้ไข ปรับปรุง เนื้อหา รายละเอียดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ เพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้งหนึ่ง และได้มีการจัดทำแผนพัฒนากรม พลศึกษา สำหรับปีงบประมาณ 2542 และ 2543 โดยเป้าหมายประการหนึ่งคือการพัฒนาวิทยาลัยพลศึกษาให้เป็นสถาบันกาญจนมงคล<br /><br />ต่อมาได้มีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 2180 / 2541 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2541 แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการสถาบันกาญจนมงคล   เพื่อวางแผนปฏิบัติการ ติดตามงาน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสาร เพื่อนำเสนอตามลำดับขั้นตอน ซึ่งได้ดำเนินการเตรียมการใน ด้านต่างๆ รวมทั้งการเตรียมการด้านหลักสูตร โดยมีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 614 / 2542 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2542 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรระดับปริญญาตรี<br /><br />ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการจัด โครงสร้างหน่วยงานทางการศึกษาขึ้นใหม่ กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าน่าจะยกฐานะ วิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบันกาญจนมงคลโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรม พลศึกษาจึงได้ดำเนินการปรับร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล เป็นพระราชกฤษฎีกาและนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณา กระทรวง ศึกษาธิการได้มีคำสั่งที่ สป 416 / 2543 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2543 แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองร่างพระราชกฤษฎีกาสถาบันกาญจนมงคล เพื่อเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการต่อไป แต่เมื่อดำเนินการตามขั้น ตอนแล้วสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่ากรณีนี้ไม่สามารถตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกาได้ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกลับมาเป็นร่างพระ ราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำเสนอได้ทันเนื่องจาก สภาผู้แทนราษฎรได้หมดอายุลงในปลายปี พ.ศ. 2543<br /><br />กรมพลศึกษายังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะผลักดันวิทยาลัยพลศึกษาให้ เป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญา โดยได้กำหนดนโยบายปฏิรูปการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาในสังกัดกรมพลศึกษา และมีความเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันการพลศึกษา”   ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ได้มีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 136 / 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา เพื่อดำเนินการต่อ ไป คณะกรรมการได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลมาพิจารณาปรับปรุงให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้นำเสนอต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา   สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ สำนักงบประมาณ คณะอนุกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ<br /><br />คณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545 ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ขึ้นคณะหนึ่ง และได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นอีกคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2545 เพื่อช่วยในการพิจารณาของคณะอนุกรรมาธิการ<br /><br />หลังจากที่คณะอนุกรรมาธิการได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้เสนอรายงานต่อคณะ กรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการได้มีมติเห็นชอบและให้กรรมาธิการที่เป็นสมาชิก พรรคต่างๆ นำเสนอต่อพรรคเพื่อพิจารณาเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาเข้าสู่การ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในนามของแต่ละพรรคต่อไป ซึ่งต่อมาได้มีพรรคต่างๆ นำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร รวม 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคชาติพัฒนา<br /><br />คณะกรรมการยกร่างฯ ได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ให้ความเห็นชอบและนำเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี ซึ่งได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 เพื่อพิจารณา ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการยกร่างๆ ได้ส่งตัวแทนเข้าชี้แจงและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณารายละเอียดก่อนเสนอเข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป<br /><br />สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2546 โดยคณะกรรมการยกร่างฯ ได้ส่งตัวแทนเข้าชี้แจงและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการประชุมทุกครั้งจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยและส่งสำนักงานเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป<br /><br />ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้บรรจุเรื่องร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา เข้าวาระการประชุม ในวันที่ 24 มีนาคม 2547 ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาไว้พิจารณา และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา เพื่อพิจารณาในรายละเอียด  จนกระทั่งพิจารณาเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2547 แต่เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรได้ปิดสมัยประชุมสามัญในวันที่ 29 พฤษภาคม 2547 จึงต้องรอนำเข้าวาระการประชุมในสมัยประชุมถัดมา<br /><br />สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในวาระ 2 และวาระ 3 ในวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และมีมติเป็นเอกฉันท์ (286 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง) เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา และให้ส่งวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป<br /><br />วุฒิสภาได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในวันที่ 6 กันยายน 2547 และมีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาไว้พิจารณา พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการ พลศึกษาเพื่อพิจารณาในรายละเอียด จนกระทั่งพิจารณาเสร็จเรียบร้อยเมื่อวัน ที่ 18 ตุลาคม 2547 และได้นำเสนอรายงานต่อที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาใน วาระ 2 และวาระ 3    วุฒิสภาได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในวันที่ 26 ตุลาคม 2547 และมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ<br /><br />เนื่องจากวุฒิสภาได้มีการปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในบาง ส่วน จึงต้องส่งให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎรได้ นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาที่วุฒิสภาแก้ไขมาพิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547  และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไข<br /><br />สภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาไปยังสำนักงาน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อตรวจทานและดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ตรวจทานราย ละเอียดร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาและทูลเกล้าฯ ถวาย ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2547   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2548  และพระราชทานคืนมายังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป<br /><br />สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยกลุ่มงานราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศ พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ตอนที่ 13 ก   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 และทำให้พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป      จึงนับได้ว่าสถาบันการพลศึกษาได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548<br /><img src="images/stories/footer_1.jpg" border="0" align="right" /></p> <p><img src="images/stories/head_a4.jpg" border="0" width="600" height="102" style="border: 0;" /><br /><br />กรมพลศึกษาได้ดำเนินการผลิตครูพลศึกษามาเป็นเวลานานโดย รับโอนโรงเรียนพลศึกษากลางมาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเรื่อยมา จนได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2496   เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง พลศึกษา) และตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย” ขึ้นในปีการศึกษา 2501 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ. พลานามัย)<br /><br />ต่อมาได้ยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัยในปี พ.ศ. 2512 และได้ขยายหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี โดยเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา แต่ยังคงดำเนินการโดยกรมพลศึกษา และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา” ในปี พ.ศ. 2514 ได้ยุติการดำเนินการวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนกลางและโอนวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาพลศึกษาไปให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาดำเนินการต่อไป กรมพลศึกษาได้เปิด ดำเนินการผลิตครูพลศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 เปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” เป็นแห่งที่สอง และมีการเปิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งมีวิทยาลัยพลศึกษารวม 17 แห่ง<br /><br />เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายบรรจุข้าราชการครูจากผู้ที่มีวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ ทำให้กรมพลศึกษาเริ่มหาแนวทางยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาให้สามารถเปิดทำการสอนใน ระดับปริญญาตรี โดยในระยะแรกได้จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการกับกรมการ ฝึกหัดครู ให้วิทยาลัยครูรับวิทยาลัยพลศึกษาเข้าสมทบทางวิชาการเพื่อเปิดสอนระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 ในขณะเดียวกันก็พยายามหาแนวทางที่จะเปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาตรีด้วยตน เอง จนได้มีการร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบัน การศึกษาระดับปริญญา เสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2538 และใช้ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล” <br /><br />กรมพลศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลตามลำดับขั้นตอนพร้อมๆ กับที่กรมอาชีวศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และกรมศิลปากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนศิลป์ ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการกรมพลศึกษาได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบัน กาญจนมงคลกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเวลา เนื่องจาก สภาผู้แทนราษฎรหมดอายุลง   จึงต้องนำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล มาเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนใหม่อีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว<br /><br />โดยมีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 111/2541 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล เพื่อพิจารณาทบทวน แก้ไข ปรับปรุง เนื้อหา รายละเอียดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ เพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้งหนึ่ง และได้มีการจัดทำแผนพัฒนากรม พลศึกษา สำหรับปีงบประมาณ 2542 และ 2543 โดยเป้าหมายประการหนึ่งคือการพัฒนาวิทยาลัยพลศึกษาให้เป็นสถาบันกาญจนมงคล<br /><br />ต่อมาได้มีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 2180 / 2541 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2541 แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการสถาบันกาญจนมงคล   เพื่อวางแผนปฏิบัติการ ติดตามงาน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสาร เพื่อนำเสนอตามลำดับขั้นตอน ซึ่งได้ดำเนินการเตรียมการใน ด้านต่างๆ รวมทั้งการเตรียมการด้านหลักสูตร โดยมีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 614 / 2542 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2542 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรระดับปริญญาตรี<br /><br />ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการจัด โครงสร้างหน่วยงานทางการศึกษาขึ้นใหม่ กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าน่าจะยกฐานะ วิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบันกาญจนมงคลโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรม พลศึกษาจึงได้ดำเนินการปรับร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล เป็นพระราชกฤษฎีกาและนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณา กระทรวง ศึกษาธิการได้มีคำสั่งที่ สป 416 / 2543 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2543 แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองร่างพระราชกฤษฎีกาสถาบันกาญจนมงคล เพื่อเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการต่อไป แต่เมื่อดำเนินการตามขั้น ตอนแล้วสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่ากรณีนี้ไม่สามารถตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกาได้ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกลับมาเป็นร่างพระ ราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำเสนอได้ทันเนื่องจาก สภาผู้แทนราษฎรได้หมดอายุลงในปลายปี พ.ศ. 2543<br /><br />กรมพลศึกษายังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะผลักดันวิทยาลัยพลศึกษาให้ เป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญา โดยได้กำหนดนโยบายปฏิรูปการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาในสังกัดกรมพลศึกษา และมีความเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันการพลศึกษา”   ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ได้มีคำสั่งกรมพลศึกษาที่ 136 / 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา เพื่อดำเนินการต่อ ไป คณะกรรมการได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลมาพิจารณาปรับปรุงให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้นำเสนอต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา   สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ สำนักงบประมาณ คณะอนุกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ<br /><br />คณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545 ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ขึ้นคณะหนึ่ง และได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นอีกคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2545 เพื่อช่วยในการพิจารณาของคณะอนุกรรมาธิการ<br /><br />หลังจากที่คณะอนุกรรมาธิการได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้เสนอรายงานต่อคณะ กรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการได้มีมติเห็นชอบและให้กรรมาธิการที่เป็นสมาชิก พรรคต่างๆ นำเสนอต่อพรรคเพื่อพิจารณาเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาเข้าสู่การ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในนามของแต่ละพรรคต่อไป ซึ่งต่อมาได้มีพรรคต่างๆ นำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร รวม 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคชาติพัฒนา<br /><br />คณะกรรมการยกร่างฯ ได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ให้ความเห็นชอบและนำเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี ซึ่งได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 เพื่อพิจารณา ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการยกร่างๆ ได้ส่งตัวแทนเข้าชี้แจงและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณารายละเอียดก่อนเสนอเข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป<br /><br />สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2546 โดยคณะกรรมการยกร่างฯ ได้ส่งตัวแทนเข้าชี้แจงและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการประชุมทุกครั้งจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยและส่งสำนักงานเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป<br /><br />ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้บรรจุเรื่องร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา เข้าวาระการประชุม ในวันที่ 24 มีนาคม 2547 ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาไว้พิจารณา และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา เพื่อพิจารณาในรายละเอียด  จนกระทั่งพิจารณาเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2547 แต่เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรได้ปิดสมัยประชุมสามัญในวันที่ 29 พฤษภาคม 2547 จึงต้องรอนำเข้าวาระการประชุมในสมัยประชุมถัดมา<br /><br />สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในวาระ 2 และวาระ 3 ในวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และมีมติเป็นเอกฉันท์ (286 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง) เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา และให้ส่งวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป<br /><br />วุฒิสภาได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในวันที่ 6 กันยายน 2547 และมีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาไว้พิจารณา พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการ พลศึกษาเพื่อพิจารณาในรายละเอียด จนกระทั่งพิจารณาเสร็จเรียบร้อยเมื่อวัน ที่ 18 ตุลาคม 2547 และได้นำเสนอรายงานต่อที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาใน วาระ 2 และวาระ 3    วุฒิสภาได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในวันที่ 26 ตุลาคม 2547 และมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ<br /><br />เนื่องจากวุฒิสภาได้มีการปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาในบาง ส่วน จึงต้องส่งให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎรได้ นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาที่วุฒิสภาแก้ไขมาพิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547  และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไข<br /><br />สภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาไปยังสำนักงาน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อตรวจทานและดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ตรวจทานราย ละเอียดร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษาและทูลเกล้าฯ ถวาย ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2547   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2548  และพระราชทานคืนมายังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป<br /><br />สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยกลุ่มงานราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศ พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ตอนที่ 13 ก   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 และทำให้พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป      จึงนับได้ว่าสถาบันการพลศึกษาได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548<br /><img src="images/stories/footer_1.jpg" border="0" align="right" /></p>